วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2567

พัฒนาคุณภาพชีวิตคริสเตียน พระธรรม 1 เทสะโลนิกา 5.12-23


 

โครงร่างคำเทศนาวันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2023

หัวเรื่อง                        พัฒนาคุณภาพชีวิตคริสเตียน

พระธรรม        1 เทสะโลนิกา 5.12-23

คำนำ

ในวันสิ้นปีเรามักจะทบทวนชีวิตตลอดทั้งปีว่าเป็นอย่างไร และเมื่อก้าวเข้าสู่ปีใหม่ เราก็มักจะบอกว่าปีนี้ต้องดีกว่าปีที่ผ่านไป  ธรรมชาติของมนุษย์ต้องมีการเจริญเติบโตขึ้นตามกาลเวลา เช่นกันกับชีวิตคริสเตียน ที่นับวันจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตคริสเตียนให้เติบโตขึ้น พระวจะของพระเจ้าหนุนใจให้เราพัฒนาคุณภาพชีวิตคริสเตียนของเราดังนี้

1.        ด้านความสัมพันธ์กับผู้นำฝ่ายวิญญาณ (12-13)

12 พี่น้องทั้งหลาย เราขอร้องท่านให้นับถือคนที่ทำงานอยู่ท่ามกลางพวกท่าน และปกครองท่านและตักเตือนท่านในองค์พระผู้เป็นเจ้า 13 จงเคารพและรักเขาให้มากเพราะงานที่เขาได้ทำ จงอยู่อย่างสงบสุขด้วยกัน

1.1.   ผู้นำฝ่ายวิญญาณคือ คนที่ทำงานท่ามกลางเรา และปกครองดูแลตักเตือนเราในองค์พระผู้เป็นเจ้า

1.2.   สิ่งที่ควรทำคือ รักเคารพและอยู่อย่างสงบสุขด้วยกัน

เปาโลประสบกับความสัมพันธ์ที่ไม่คาดฝันในคริสตจักรเมืองโครินธ์ ถูกโจมตี ต่อต้าน กล่าวหาต่างๆ นาๆ สร้างความเจ็บปวดให้กับท่านอย่างมาก ท่านไม่อยากให้คริสตจักรในเทสะโลนิกาเป็นแบบนั้น

มีคำพูดว่า  ช่วยคน 10 ครั้งเขาไม่จำหรอก เขาจำได้แค่ครั้งที่เราไม่ช่วย”   หลายครั้งชีวิตของผู้นำฝ่ายวิญญาณ หรือผู้รับใช้ก็ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้  การช่วยเหลือกลายเป็นสิ่งที่ผู้รับใช้สมควรทำ  แต่จะถูกโจมตีเมื่อไม่ได้ทำเพียงแค่ครั้งเดียว หรือเมื่อคนอื่นช่วยเพียงครั้งเดียวนั้น  ว่าไม่มีความรักห่วงใยสมาชิก เสมือนหนึ่งว่าผู้รับใช้คนนี้ใช้การไม่ได้เลย บางคนถึงกับย้ายโบสถ์เลย

คำว่า “อยู่อย่างสงบสุขด้วยกัน” หมายความว่า บางครั้งผู้นำอาจไม่ได้ทำอะไรตามที่เราคาดหวัง ก็อย่างโกรธ อย่าน้อยใจ หรืออย่าโจมตี  อย่าตำหนิต่อว่าผู้นำ พยายามรักษาความสัมพันธ์หรือทำให้ดีกว่าเดิม

2.        ด้านความสัมพันธ์กับคนในคริสตจักร (14-15)

14 พี่น้องทั้งหลาย ขอให้พวกท่านตักเตือนคนที่เกียจคร้าน หนุนใจผู้ที่ขาดความกล้าหาญ ช่วยเหลือคนที่อ่อนกำลัง และมีความอดทนต่อทุกคน 15 อย่าให้คนใดทำชั่วตอบแทนการชั่ว แต่จงหาทางทำดีเสมอต่อพวกท่านเอง และต่อคนทั่วไปด้วย

2.1.   ด้วยการตักเตือนคนที่เกียจคร้าน  หมายถึงคนที่ชอบทำตัวเป็นภาระของคนอื่น หรือชอบไปยุ่งกับเรื่องของคนอื่นแต่ตัวเองกลับไม่ทำการงานเป็นชิ้นเป็นอัน  (2 ทส 3.6-12)

2.2.   ด้วยการหนุนใจคนที่ท้อใจ/ขาดความกล้าหาญ หมายถึงคนที่ถูกครอบครัวหรือคนรอบข้างต่อต้านเรื่องความเชื่อในพระเจ้า จนเกิดความท้อ หรือบางคนไม่กล้าเปิดเผยความเชื่อ  (กท 4.19-20)

2.3.   ด้วยการช่วยเหลือคนที่อ่อนกำลัง  หมายถึงบางคนที่เป็นผู้เชื่อใหม่หรือเก่าที่ยังมีความเชื่ออ่อนแออยู่ เราต้องช่วยเหลือเขา หรือไม่ทำให้ความเชื่อของเขาสดุด เช่น... (1 คร 8.11-13)

2.4.   ด้วยการอดทนต่อกันและกัน หมายถึงอดทนต่อความเชื่อของกันและกัน เพราะแต่ละคนก็เติบโตในความเชื่อไม่เท่ากัน บางคนเข้มแข็ง บางคนอ่อนแอ และบางครั้งก็อดทนต่ออุปนิสัยใจคอของพี่น้องแต่ละคน หรือบางครั้งก็อดทนต่อความดื้อของลูกแกะ

2.5.   ด้วยการทำตีต่อกันและกัน บ่อยครั้งระหว่างพี่น้องมีปัญหาขัดแย้งกัน แต่อย่างตอบโต้ด้วยวิธีการของโลก ตรงกันข้าม บอกว่ายิ่งต้องทำดีต่อกันใหม้มากขึ้น

3.        ด้านความสัมพันธ์กับพระเจ้า (16-23)

16 จงชื่นบานอยู่เสมอ 17 จงอธิษฐานอย่างสม่ำเสมอ 18 จงขอบพระคุณในทุกกรณี เพราะนี่แหละเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า สำหรับพวกท่านในพระเยซูคริสต์ 19 อย่าขัดขวางพระวิญญาณ 20 อย่าดูหมิ่นถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ 21 จงพิสูจน์ทุกสิ่ง สิ่งที่ดีนั้นจงยึดถือไว้ให้มั่น 22 จงเว้นเสียจากสิ่งที่ชั่วทุกอย่าง

3.1.   ด้านการนมัสการสรรเสริญพระเจ้า  คำว่า จงชื่นบานอยู่เสมอ เหมือนกับในฟิลิปปี 4.4 จ.ชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้าทุกเวลา  ในพจนานุกรรม มาจากคำว่าสรรเสริญ  ชีวิตคริสเตียนที่ชื่นชมยินดีได้นั้นมีในองค์พระผู้เป็นเจ้า โดยการยกย่องสรรเสริญนมัสการพระเจ้าเท่านั้น

3.2.   ด้านการอธิษฐานกับพระเจ้า  ฉะนั้นเราต้องท้าทายตนเองในการมีชีวิตอยู่เพื่อการอธิษฐาน เพราะเป็นกุญแจนำเราไปสู่พระพรของพระเจ้าได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น

3.3.   ด้านการขอบพระคุณพระเจ้า  เพราะเป็นน้ำพระทัยของพระเจ้าสำหรับเราทุกคนที่เชื่อพระเยซูคริสต์ ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่กว่าการได้รับพระคุณควารอด ดังนั้นเรื่องต่างๆในชีวิตจึงไม่ยากที่จะขอบพระคุณพระเจ้าในทุกกรณี

3.4.   ด้านการไวต่อการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์  การเพิกเฉยต่อการทรงนำ หรือการไม่ตอบสนองต่อการทรงนำของพระวิญญาณ เท่ากับเป็นการดับพระวิญญาณ

3.5.   ด้านการตอบสนองต่อพระวจนะของพระเจ้า   22 แต่ท่านทั้งหลายจงเป็นคนที่ประพฤติตามพระวจนะนั้น ไม่ใช่เป็นแต่เพียงผู้ฟังเท่านั้น ซึ่งเป็นการลวงตนเอง 23 เพราะว่าถ้าผู้ใดฟังพระวจนะ และไม่ได้ประพฤติตาม ผู้นั้นก็เป็นเหมือนคนที่ดูหน้าของตัวในกระจกเงา 24 เพราะว่าเมื่อดูตัวเองแล้วก็ไป และก็ลืมในทันทีนั้นว่าตัวเองเป็นอย่างไร 25 แต่ผู้ที่พิจารณาดูในวิสุทธิบัญญัติ ซึ่งเป็นพระบัญญัติแห่งเสรีภาพ และตั้งอยู่ในพระบัญญัตินั้น มิได้เป็นผู้ฟังแล้วก็หลงลืม แต่เป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตาม ผู้นั้นก็จะได้รับความสุขเพราะการประพฤติปฏิบัติของตน

3.6.   ด้านการแบ่งแยกชีวิตที่บริสุทธิ์แด่พระเจ้า  จงเว้นเสียจากสิ่งที่ชั่วทั้งปวง รักษาชีวิตใว้ในความบริสุทธิ์ ทั้งร่างกายและจิตวิญญาณ ให้ปราศจากการติเตียน  หมายถึงเราต้องรู้จักแบ่งแยกการดำเนินชีวิต

สรุป / ข้อคิด / เชิญชวน

23 ขอให้พระเจ้าแห่งสันติสุขทรงชำระท่านทั้งหลายให้เป็นคนบริสุทธิ์หมดจด และทรงรักษาทั้งวิญญาณ จิตใจ และร่างกายของท่านไว้ให้ปราศจากการติเตียน จนถึงวันที่พระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราจะเสด็จมา 24 พระองค์ผู้ทรงเรียกท่านนั้นซื่อสัตย์ และพระองค์จะทรงทำให้สำเร็จ

วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2567

หัวข้อ อิมมานูเอล พระเจ้าทรงสถิตกับเรา พระธรรม อสย 7.14, มธ 1.22-23

 

โครงเทศนาวันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2023



หัวข้อ        อิมมานูเอล พระเจ้าทรงสถิตกับเรา

พระธรรม  อสย 7.14, มธ 1.22-23

7:14 เพราะฉะนั้นองค์พระผู้เป็นเจ้าจะประทานหมายสำคัญเอง ดูเถิด หญิงพรหมจารีคนหนึ่งจะตั้งครรภ์ และคลอดบุตรชายคนหนึ่ง และเขาจะเรียกนามของท่านว่า อิมมานูเอล

22 ทั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อจะให้สำเร็จตามพระวจนะขององค์พระผู้เป็นเจ้าซึ่งตรัสไว้โดยศาสดาพยากรณ์ว่า 23 `ดูเถิด หญิงพรหมจารีคนหนึ่งจะตั้งครรภ์ และจะคลอดบุตรชายคนหนึ่ง และเขาจะเรียกนามของท่านว่า อิมมานูเอล ซึ่งแปลว่า พระเจ้าทรงอยู่กับเรา'

คำนำ         

ผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ ได้กล่าวเป็นคำพยากรณ์ไว้ราว 7 ร้อยปีก่อนคริสตศักราช ถึงการบังเกิดของ อิมมานูเอล เพื่อเป็นหมายสำคัญของการช่วยให้รอด คำพยากรณ์นี้มีความหมายสองระยะ คือระยะสั้นคงหมายถึงลูกของอิสยาห์เอง เป็นหมายสำคัญว่าพระเจ้าทรงอยู่กับอิสราเอลและจะช่วยให้รอดพ้นจากศัตรู (อัสซีเรีย) ความหมายระยะยาวคือ การมาบังเกิดขององค์พระเยซูคริสต์ มธ 1.22-23 จะเป็นหมายสำคัญการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากบาป

1.        ความหมาย อิมมานูเอล

1.1.     ในพระคัมภีร์ คำนี้มีความหมายว่า “พระเจ้าทรงอยู่กับเรา”

1.2.     ความหมายที่เป็นรูปธรรม หมายถึง ......

·          “พระวาทะได้มาเกิดเป็นมนุษย์ โดยเกิดจากหญิงพรมจารีคนหนึ่ง ยน 1.14 (นางมารีย์)

พระวาทะได้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง เราทั้งหลายได้เห็นพระสิริของพระองค์ คือพระสิริอันสมกับพระบุตรองค์เดียวของพระบิดา

·          เกิดจากการปฎิสนธิโดยฤทธิ์เดชของพระวิญญาณบริสุทธิ์  มธ 1.20

 แต่เมื่อโยเซฟยังคิดในเรื่องนี้อยู่ก็มีทูตองค์หนึ่งของพระเป็นเจ้า มาปรากฏแก่โยเซฟในความฝันว่าโยเซฟบุตรดาวิด อย่ากลัวที่จะรับมารีย์มาเป็นภรรยาของเจ้าเลย เพราะว่าผู้ซึ่งปฏิสนธิในครรภ์ของเธอเป็นโดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์

·          ชื่อที่ใช้เรียกในโลกนี้คือ “เยซู”  มธ 1.21

เธอจะประสูติบุตรชาย แล้วเจ้าจงเรียกนามท่านว่า เยซู เพราะว่าท่านเป็นผู้ที่จะโปรดช่วยชนชาติของท่านให้รอดจากความผิดบาปของเขา

·          และพระบุตรของพระเจ้า ยน 1.18/ลูกา 1.35

ทูตสวรรค์จึงตอบนางว่า “​พระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จลงมาบนเธอ และฤทธิ์เดชของผู้สูงสุดจะปกเธอ เหตุฉะนั้นบุตรที่จะเกิดมานั้นจะได้เรียกว่าวิสุทธิ์ และเรียกว่าพระบุตรของพระเจ้า

1.3.     ดังนั้น อิมมานูเอล จึงหมายถึง พระบุตรของพระเจ้าได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ (เยซู) เพื่อที่จะอยู่กับมนุษย์

2.        ความสำคัญของอิมมานูเอล

2.1.     เพื่อจะทรงสำแดงพระเจ้าให้มนุษย์ได้เห็น  ยน 1.18, ยน 14.7

1:18 ไม่มีใครเคยเห็นพระเจ้าในเวลาใดเลย พระบุตรองค์เดียวที่บังเกิดมา ผู้ทรงสถิตในพระทรวงของพระบิดา พระองค์ได้ทรงสำแดงพระเจ้าแล้ว

14:7 ถ้าท่านทั้งหลายรู้จักเราแล้ว ท่านก็จะรู้จักพระบิดาของเราด้วย และตั้งแต่นี้ไปท่านก็รู้จักพระองค์และได้เห็นพระองค์"   พระเยซูบอกว่าผู้ที่ไม่เห็นเราแต่เชื่อก็เป็นสุข ยน 20.29

2.2.     เพื่อเป็นหมายสำคัญว่าพระเจ้าทรงสถิตกับเราและจะช่วยเราให้รอดพ้นจากบาป อสย 7.14, มธ 1.20-21

อิสยาห์บอกว่า “พระเจ้าจะประทานหมายสำคัญ”   มัทธิวบอกว่า “ท่านจะช่วยชนชาติของท่านให้รอดพ้นจากความผิดบาป”

2.3.     เพื่อประทานสิทธิ์ให้เราได้เป็นบุตรของพระเจ้า ยน 1.12

แต่ส่วนบรรดาผู้ที่ต้อนรับพระองค์ ผู้ที่เชื่อในพระนามของพระองค์พระองค์ก็ทรงประทานสิทธิให้เป็นบุตรของพระเจ้า

3.        เราจะรู้และมั่นใจได้อย่างไรว่าพระเจ้าทรงอยู่กับเรา

3.1.     โดยที่เรารักและเชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์  ยน 14.23

พระองค์ตรัสตอบเขาว่าถ้าผู้ใดรักเรา ผู้นั้นจะประพฤติตามคำของเรา และพระบิดาจะทรงรักเขา แล้วพระบิดากับเราจะมาหาเขา และจะอยู่กับเขา

3.2.     โดยที่เรารักซึ่งกันและกัน 1 ยน 4.11-12

11 ท่านที่รักทั้งหลาย ถ้าพระเจ้าทรงรักเราทั้งหลายเช่นนั้น เราก็ควรจะรักซึ่งกันและกันด้วย 12 ไม่มีผู้ใดเคยเห็นพระเจ้า ถ้าเราทั้งหลายรักซึ่งกันและกันพระเจ้าก็ทรงสถิตอยู่ในเราทั้งหลาย และความรักของพระองค์ก็สมบูรณ์อยู่ในเรา

3.3.     โดยที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสถิตและเป็นหลักประกันความรอด อฟ 1.13-1, ยน 14.17

การทรงสถิตของพระเจ้า 2 แบบ หนึ่งเป็นการทรงสถิตภายในตัวผู้เชื่อ และสองเป็นการทรงสถิตท่ามกลางผู้เชื่อ  ขอพระเจ้าทรงสถิตและอำนวยพระพรแก่ท่านให้เทศกาลคริสต์มาสนี้

ผู้วินิจฉัย บทที่ 2.11-22 หัวข้อ บททดสอบการเป็นประชากรของพระเจ้า

 

โครงร่างคำเทศนา วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2023

 

พระธรรม   ผู้วินิจฉัย บทที่ 2.11-22

หัวข้อ         บททดสอบการเป็นประชากรของพระเจ้า

คำนำ  

ชนชาติอิสราเอลได้รับการทรงเรียก เพื่อเป็นประชากรของพระเจ้า พระเจ้าทรงมีบททดสอบ ต่างๆ เช่นเดียวกันกับคริสเตียน เราทั้งหลายได้รับการไถ่ โดยพระเยซูคริสต์ เพื่อเป็นประชากรของพระเจ้า จำเป็นจะต้องมีบททดสอบ ด้วยเหมือนกัน

1.   อะไรคือบททดสอบการเป็นประชากรของพระเจ้า

1.1. คำว่าทดสอบ เป็นคำกริยา  หมายถึง  ตรวจสอบเพื่อความถูกต้อง  แน่นอน

1.2. พระเจ้าใช้ชาวแผ่นดินคานาอันที่หลงเหลืออยู่ เพื่อทดสอบ คนอิสราเอลในการเป็นประชากรของพระเจ้า

1.3. ในพระคัมภีร์ กล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆ เรื่องราวต่างๆ ที่พระเจ้าอนุญาตให้เกิดขึ้น เพื่อทดสอบ ประชากรของพระเจ้า โรม 8.35-39

35 แล้วใครจะให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระคริสต์ได้เล่า จะเป็นความทุกข์ หรือความยากลำบาก หรือการเคี่ยวเข็ญ หรือการกันดารอาหาร หรือการเปลือยกาย หรือการถูกโพยภัย หรือการถูกคมดาบหรือ   37 แต่ว่าในเหตุการณ์ทั้งปวงเหล่านี้ เรามีชัยเหลือล้นโดยพระองค์ผู้ได้ทรงรักเราทั้งหลาย 38 เพราะข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า แม้ความตาย หรือชีวิต หรือบรรดาทูตสวรรค์ หรือเทพเจ้า หรือสิ่งซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันนี้ หรือสิ่งซึ่งจะมีในภายหน้า หรือฤทธิ์เดชทั้งหลาย 39 หรือซึ่งสูง หรือซึ่งลึก หรือสิ่งใดๆ อื่นที่ได้ทรงสร้างแล้วนั้น จะไม่สามารถกระทำให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระเจ้า ซึ่งมีอยู่ในพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราได้

 

2.   ความจำเป็นของการทดสอบการเป็นประชากรของพระเจ้า ผู้วินิจฉัย2.21-22

21 ดังนั้นตั้งแต่นี้ต่อไปเราจะไม่ขับไล่ประชาชาติใด ในบรรดาประชาชาติซึ่งโยชูวาทิ้งไว้เมื่อเขาสิ้นชีวิตนั้นให้พ้นหน้า 22 เพื่อเราจะใช้ประชาชาติเหล่านั้นทั้งสิ้นทดสอบอิสราเอลว่า เขาจะรักษาพระมรรคาของพระเจ้าและดำเนินตามอย่างบรรพบุรุษของเขาหรือไม่

2.1. เพื่อทดลองความเชื่อของเรา  ยากอบ 1.2-3, 1 เปโตร 4.12-13 (หรือกระบวนการขัดเกลาความเชื่อ) เหมือนกับการถลุงแร่

2 ดูก่อนพี่น้องของข้าพเจ้า เมื่อท่านทั้งหลายประสบความทุกข์ยากลำบากต่างๆก็จงถือว่าเป็นเรื่องน่ายินดี​ 3 เพราะท่านทั้งหลายรู้ว่า การทดลองความเชื่อของท่านนั้น ทำให้เกิดความหนักแน่นมั่นคง

12 ดูก่อนท่านที่รัก อย่าประหลาดใจ ที่ท่านต้องได้รับความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัสเป็นการลองใจ เหมือนหนึ่งว่าเหตุการณ์อันประหลาดได้เกิดขึ้นกับท่าน  

2.2. เพื่อเป็นการตีสอนให้หันกลับมาหาพระเจ้าหรือกลับใจใหม่  ฮีบรู 12.3-11

 7 ท่านทั้งหลายจงรับและทนเอาเถอะเพราะเป็นการตีสอนพระเจ้าทรงปฏิบัติต่อท่านในฐานะที่ท่านเป็นบุตรของพระองค์ ด้วยว่ามีบุตรคนใดเล่าที่บิดาไม่ได้ตีสอนเขาบ้าง

2.3. เพื่อพิสูจน์ว่าเราสมควรกับพระพรของพระเจ้าเพียงใด  ยากอบ 1.12

12 คนที่อดทนต่อการทดลองใจก็เป็นสุข เพราะเมื่อปรากฏว่าผู้นั้นทนได้แล้ว เขาจะได้รับมงกุฎแห่งชีวิต ซึ่งพระเจ้าได้ทรงสัญญาไว้แก่คนทั้งหลายที่รักพระองค์

3.   เราควรมีท่าทีต่อการทดสอบของพระเจ้าอย่างไร

3.1. เราต้องรู้และเข้าใจก่อนว่า ทุกเหตุการณ์ ทุกเรื่องราว เป็นการทดสอบคนของพระเจ้า

12 ดูก่อนท่านที่รัก อย่าประหลาดใจ ที่ท่านต้องได้รับความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัสเป็นการลองใจ เหมือนหนึ่งว่าเหตุการณ์อันประหลาดได้เกิดขึ้นกับท่าน  

3.2. เรียนรู้และหันกลับมาสู่พันธสัญญาของพระเจ้า  อิสยาห์ 1.16-20

16 จงชำระตัว จงทำตัวให้สะอาดจงเอากรรมชั่วของเจ้าออกไปให้พ้นจากสายตาของเรา จงเลิกกระทำชั่ว  17        จงฝึกกระทำดี จงแสวงหาความยุติธรรม จงบรรเทาผู้ถูกบีบบังคับ จงป้องกันให้ลูกกำพร้าพ่อ จงสู้ความเพื่อหญิงม่าย  18 พระเจ้าตรัสว่า มาเถิด ให้เราสู้ความกัน ถึงบาปของเจ้าเหมือนสีแดงเข้ม ก็จะขาวอย่างหิมะ ถึงมันจะแดงอย่างผ้าแดง ก็จะกลายเป็นอย่างขนแกะ  19 ถ้าเจ้าเต็มใจและเชื่อฟัง เจ้าจะได้กินผลดีแห่งแผ่นดิน  20 แต่ถ้าเจ้าปฏิเสธและกบฏ  เจ้าจะเป็นเหยื่อของคมดาบ  เพราะว่าพระโอษฐ์ของพระเจ้าได้ตรัสแล้ว

 

3.3. ถ่อมใจและรับการเสริมสร้าง เพื่อเติบโตมากขึ้น 1 เปโตร 2.2-5

เช่นเดียวกับทารกแรกเกิด จงปรารถนาน้ำนมฝ่ายวิญญาณอันบริสุทธิ์ เพื่อโดยน้ำนมนั้นจะทำให้ท่านทั้งหลายเจริญขึ้นสู่ความรอด 3 เพราะท่านได้ลิ้มรสพระกรุณาคุณขององค์พระผู้เป็นเจ้า  4 จงมาหาพระองค์ คือพระศิลาที่ทรงชีวิต ซึ่งมนุษย์ได้ปฏิเสธไม่ยอมรับแล้ว แต่ว่าตามพระดำริของพระเจ้านั้นเป็นศิลาที่ทรงเลือกไว้ และทรงค่าอันประเสริฐ 5 และท่านทั้งหลายก็เสมือนศิลาที่มีชีวิต ที่กำลังก่อขึ้นเป็นพระนิเวศฝ่ายพระวิญญาณ เป็นปุโรหิตบริสุทธิ์ เพื่อถวายสักการบูชาฝ่ายวิญญาณ ที่ชอบพระทัยของพระเจ้าโดยทางพระเยซูคริสต์

 

สรุป

พระเจ้าทรงใช้เหตุการณ์ ต่างๆ และเรื่องราวต่างๆ บุคคลมากมาย เพื่อทดสอบ การเป็นประชากรของพระเจ้าของเรา เพราะพระเจ้า เป็นพระเจ้าที่สัตย์ซื่อและรักษาพันธะสัญญาของพระองค์ แม้มนุษย์จะไม่สัตย์ซื่อและจะไม่รักษาพันธสัญญาของพระองค์ก็ตาม การทดสอบ จึงมีความจำเป็น เพื่อนำประชากร ที่พระเจ้าทรงเลือกสรร กลับคืนสู่พันธสัญญาของพระองค์

 

โครงร่างคำเทศนา

หัวเรื่อง                มั่นใจในพระคุณความรอดมั่นใจได้ไปสวรรค์แน่นอน

พระธรรม            เอเฟซัส 2.8-9

บทนำ                   อะไรทำให้เรามั่นใจว่า เมื่อจากโลกนี้ไปแล้วจะได้ไปสวรรค์แน่นอน

1.         อะไรคือพระคุณ

1.1.     คำว่าพระคุณ หมายถึง ใหเฟรีๆ ให้เปล่าๆ โดยไม่คิดมูลค่า เป็นของขวัญที่พระเจ้ามอบให้ ประทานให้ฟรีๆ

1.2.     พระคุณของพระเจ้า เป็นพระลักษณะอย่างหนึ่งของพระเจ้า 1 ปต 5.10 “พระเจ้าผู้ทรงพระคุณทั้งสิ้น”  คือโดยพระองค์เองนั่นแหละคือพระคุณที่ให้กับเรา

1.3.     พระคุณของพระเจ้าได้ทรงสำแดงออกทางพระเยซูคริสต์ โดยการสิ้นพระชนม์ที่บนกางเขน   โรม 3.24 บอกว่า แต่พระเจ้าทรงพระกรุณาให้เขาเป็นผู้ชอบธรรม โดยไม่คิดมูลค่า โดยที่พระเยซูคริสต์ทรงไถ่เขาให้พ้นบาปแล้ว  ทิตัส 2.11 เพราะว่าพระคุณของพระเจ้าได้ปรากฏแล้ว เพื่อช่วยคนทั้งปวงให้รอด  โรม6.23  “ของประทานจากพระเจ้าคือชีวิตนิรันดร์”

2.         อะไรคือความรอด

2.1.     หมายถึง  การรอดพ้นบาป หรือกฎแห่งกรรม โรม 6.23 บอกว่า “ค่าจ้างของความบาปคือความตาย”  

2.2.     หมายถึง การรอดพ้นจากข้อผูกมัดของบทบัญญัติต่างๆ โคโลสี 2.14  พระองค์ทรงฉีกกรมธรรม์ซึ่งได้ผูกมัดเราด้วยบัญญัติต่างๆ ซึ่งขัดขวางเรา และได้ทรงหยิบเอาไปเสียให้พ้นโดยทรงตรึงไว้ที่กางเขน”

2.3.     หมายถึง  การรอดพ้นจากอำนาจผูตฝีวิญญาณต่างๆ โคโลสี 2.15  พระองค์ทรงปลดเทพผู้ครองและศักดิเทพเสียพระองค์ได้ทรงประจานเขา และชนะเขาโดยกางเขนนั้นกาลาเทีย 4.3 “ ฝ่ายเราก็เหมือนกัน เมื่อเป็นเด็กอยู่ เราก็เป็นทาสของวิญญาณต่างๆ แห่งสากลจักรวาล

2.4.     คำว่า ความรอด ยังมีความหมายเดียวกันกับคำว่า  ชีวิตนิรันดร์  ยอห์น 3.16

3.         แล้วเราจะรับพระคุณความรอดได้อย่างไร

3.1.     ไม่ใช่โดยการประพฤติ หรือมนุษย์กระทำได้เอง  สาเหตุเพราะ เพื่อมิให้คนหนึ่งคนใดอวดได้  ข้อ9

3.2.     โดยพระคุณและความเชื่อ  หมายถึง พระเจ้าทรงประทานให้ฟรีๆ และมนุษย์เพียงแต่รับเอาโดยความเชื่อ  คือเชื่อวางในในการกระทำของพระเยซูคริสต์เพื่อเรา เชื่อในการไถ่ของพระเยซูคริสต์ พระคัภีร์บอกว่า เราก็จะได้รับความรอดแน่นอน  โรม 10.9-10

9 คือว่าถ้าท่านจะรับด้วยปากของท่านว่าพระเยซูทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า และเชื่อในจิตใจว่าพระเจ้าได้ทรงชุบพระองค์ให้เป็นขึ้นมาจากความตาย ท่านจะรอด 10 ด้วยว่า ความเชื่อด้วยใจก็นำไปสู่ความชอบธรรม และการยอมรับสัจจะของพระเจ้าด้วยปากก็นำไปสู่ความรอด

สรุปข้อคิดหนุนใจ

ดังนั้น  ชีวิตคริสเตียน เป็นชีวิตที่เชื่อวางใจในการกระทำของพระเจ้า ที่ทรงกระทำผ่านทางพระเยซูคริสต์ โดยการสิ้นพระชนม์บนกางเขน เป็นพระคุณที่พระเจ้าประทานให้มนุษย์ฟรีๆ

ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีความมั่นใจว่า ผู้ที่เชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์ ถึงแม้จะตายจากโลกนี้ แต่เขาจะมีชีวิตนิรันดร์ และอยู่กับพระเจ้าในสวรรค์ตลอดไป เพราะเขาได้รับพระคุณโดยความเชื่อแล้วในโลกนี้  ซึ่งเราทั้งหลายทุกคนที่นี่ก็สามารถที่จะรับเอาพระคุณได้ด้วย เพียงเชื่อวางในในพระเยซูคริสต์