วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566

มัคนายกของคริสตจักร พระธรรม 1 ทิโมธี 3.8-13, กิจการ 6.1-6, โรม 16.1, ฟิลิปปี 1.1

 

โครงร่างคำเทศนาวันอาทิตย์ที่  4 กันยายน 2022



หัวข้อ    มัคนายกของคริสตจักร

พระธรรม  1 ทิโมธี  3.8-13,  กิจการ 6.1-6,   โรม 16.1,   ฟิลิปปี 1.1

คำนำ

วันอาทิตย์ที่  18 กันยายน 20221 คริสตจักรกำหนดให้เป็นวันเลือกมัคนายกของคริสตจักรชุดใหม่ เนื่องจากชุดเดิมจะหมดวาระสิ้นเดือนกันยายนนี้ และชุดใหม่ก็จะเริ่มทำหน้าที่ในเดือนตุลาคมทันที ดังนั้นวันนี้จึงอยากนำพี่น้องมาทบทวนหรือใคร่ครวญถึงการเป็นมัคนายกของคริสตจักรอีกครั้งเพื่อเตรียมพร้อม

1.         ความหมายมัคนายกของคริสตจักร

ภาษากรีก Diakonos แปลว่า ผู้ปรนนิบัติ หรือผู้รับใช้ หรือผู้ช่วยเหลือ  ตำแหน่งนี้เกิดขึ้นครั้งแรกใน กจ.6:1 เพื่อทำหน้าที่รับใช้ช่วยเหลือบรรดาอัครทูต ที่ต้องมุ่งเน้นในการสอนและอธิษฐาน   มัคนายกจะเป็นสตรี หรือเป็นผู้ชายก็ได้ ครั้งแรกที่มีการตั้งมัคนายกทั้งหมดเป็นผู้ชาย แต่ต่อมาในโรม 16.1 กล่าวถึงเฟบี เป็นมัคนายกด้วย    ปัจจุคริสตจักรเราแต่งตั้งมัคนายกให้ทำงานเป็นวาระ โดยคณะผู้รับใช้ทำการสรรหารายชื่อและเสนอให้สมาชิกคริสตจักรเป็นผู้เลือกตามความเหมาะสม แล้วจึงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งมัคนายก

2.         คุณสมบัติของมัคนายก

2.1.     มีชื่อเสียงดี ประกอบด้วยพระวิญญาณและสติปัญญา กจ 6.3

2.2.     ฝ่ายมัคนายกนั้นก็เช่นเดียวกันคือต้องเป็นคนเอาการเอางาน

2.3.     ไม่เป็นคนสองลิ้น

2.4.     ไม่ดื่มสุรามึนเมา

2.5.     ไม่เป็นคนโลภมักได้

2.6.     เป็นคนยึดมั่นในข้อล้ำลึกแห่งความเชื่อ ด้วยจิตสำนึกว่าตนชอบ

2.7.     ต้องเป็นสามีของหญิงคนเดียว

2.8.     บังคับบัญชาบุตรของตน และปกครองบ้านเรือนของตนได้ดี

2.9.     ต้องเป็นคนเอาการเอางาน

2.10. ไม่ใส่ร้ายผู้อื่น

2.11. เป็นคนรู้จักประมาณตน

2.12. เป็นคนสัตย์ซื่อในประการทั้งปวง

3.         งานรับใช้ของมัคนายก

3.1.     ช่วยเหลืองานรับใช้ของศิษยาภิบาลหรือผู้ปกครอง กจ 6.2-3

3.2.     รับผิดชอบธุรการต่างๆ ของคริสตจักร

3.3.     ร่วมรับใช้ในงานฝ่ายวิญญาณ การนมัสการ การอธิษฐาน การประกาศ เป็นต้น

สรุป

เพราะว่าคนที่ทำหน้าที่มัคนายกได้ดีก็มีเกียรติ และมีใจกล้าเป็นอันมากเพราะความเชื่อซึ่งมีในพระเยซูคริสต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น